พระไตรปิฎกศึกษา
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
การแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑
บรรยายโดย
พระมหาธานินทร์
อาทิตโร,ดร.
น.ธ.เอก,ป.ธ.๘,พธ.บ.(อังกฤษ),พธ.ม.(บาลี),พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
l
ประเภทของการแปล
๑. การแปลยกศัพท์
๑. การแปลยกศัพท์
l
การแปลที่สำคัญที่ ๓ ประเภท คือ
l
๑. การแปลยกศัพท์
l
๒. การแปลโดยพยัญชนะ
l
๓. การแปลโดยอรรถ
l
ตัวอย่างการแปลยกศัพท์
l
- สามิโก สูทํ โอทนํ ปาจาเปติ ฯ
l
สามิโก อ.เจ้านาย สูทํ ยังพ่อครัว
ปาจาเปติ ให้หุงอยู่ โอทนํ ซึ่งข้าวสุก ฯ
l
- สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ ฯ
l
- สตฺถา อ.พระศาสดา เทเสติ
ย่อมทรงแสดง ธมฺมํ ซึ่งธรรม ฯ
l
ตัวอย่างการแปลโดยพยัญชนะ
l
- สามิโก สูทํ โอทนํ ปาจาเปติ ฯ
-
อ.เจ้านาย ยังพ่อครัว ให้หุงอยู่
ซึ่งข้าวสุก ฯ
-
สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ ฯ
-
อ.พระศาสดา ย่อมทรงแสดง ซึ่งธรรม ฯ
l
ตัวอย่างการแปลโดยอรรถ
l
- สามิโก สูทํ โอทนํ ปาจาเปติ ฯ
l
- นายใช้พ่อครัวให้หุงข้าว ฯ
l
- สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ ฯ
l
พระศาสดาทรงแสดงธรรม ฯ เป็นต้น
l
l หลักการแปลและลำดับการแปล
l
ลำดับการแปล
มี ๑๑ ขั้น ดังนี้
l
๑. อาลปนะ
l
๒. นิบาตต้นข้อความ
l
๓. บทกาลสัตตมี
l
๔. บทประธาน
l
๕.
บทขยายประธาน/บทที่เนื่องด้วยตัวประธาน
l
๖. บทกิริยาในระหว่าง
l
๗. บทขยายกิริยาในระหว่าง
l
๘. ประโยคแทรก
l
๑) ประโยคอนาทร
๒) ประโยคลักขณะ
l
๙. บทขยายประโยคแทรก
l
๑๐. บทกิริยาคุมพากย์
l
๑๑. บทขยายกิริยาคุมพากย์
l ๑. บทอาลปนะ
l
บทอาลปนะ
คือ คำที่ใช้สำหรับร้องเรียก ทักทายกัน มี ๒ ประเภท คือ
l
๑)
อาลปนะนาม เช่น สามิ, ตาต, อมฺม, อุปาสก, ภิกฺขุ, ภิกฺขเว เป็นต้น
l
๒)
อาลปนะนิบาต เช่น ภนฺเต, อาวุโส, อมฺโภ, ภเณ, เร เป็นต้น
l
ตัวอย่างบทอาลปนะนาม
l
- สามิ
เอโก ปุตฺโต ชาโต ฯ
l
ข้าแต่นาย
อ.บุตร คนหนึ่ง เกิดแล้ว ฯ
l
- กึ
กเถสิ ภาติก ฯ
l
ข้าแต่พี่ชาย
อ.ท่าน ย่อมกล่าว ซึ่งคำอะไร ฯ
l
- กุหึ
ยาสิ อุปาสก ฯ
l
ดูก่อนอุบาสก
อ.ท่าน จะไป ณ ที่ไหน ฯ
l
อหํ
ธมฺมํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ฯ
l
ดูก่อนภิกษุ
ท. อ.เรา จักแสดง ซึ่งธรรม แก่เธอ ท. ฯ
l
- อานนฺท ตฺวํ เอวํ มา วเทหิ ฯ
l
ดูก่อนอานนท์
อ.เธอ จงอย่างกล่าว อย่างนี้ ฯ
l
ตัวอย่างอาลปนะนิบาต
l
อาลปนะนิบาต
มี ๑๐ ตัว คือ ยคฺเฆ (ขอเดชะ), ภนฺเต, ภทนฺเต (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ), อมฺโภ
(แนะท่านผู้เจริญ), อาวุโส (ดูก่อนท่านผู้มีอายุ), ภเณ (แนะพนาย), เร, อเร (เว้ย,
โว้ย), เห (เฮ้ย), เช (แนะแม่)
l
- กนิฏฺฐภาตา
เม อตฺถิ ภนฺเต ฯ
l
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อ.น้องชายผู้น้อยที่สุด ของข้าพระองค์ มีอยู่ ฯ
l
- ยาหิ อาวุโส
ฯ
l
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
อ.ท่าน จงไปเถิด ฯ
l
- เตนหิ
ภเณ เสว (ตฺวํ) (ภาติกํ) โภเชหิ ฯ
l
แนะพนาย
ถ้าอย่างนั้น อ.ท่าน ยังพี่ชาย จงให้บริโภค ในวันพรุ่งเถิด ฯ
l
- อมฺโภ
ตฺวํ เอวํ มา วเทหิ ฯ
l
แนะท่านผู้เจริญ
อ.ท่าน จงอย่ากล่าว อย่างนี้ ฯ
l
- ตฺวํ ติฏฺฐ เร ฯ
l
เฮ้ย/เว้ย
อ.ท่าน จงหยุด ฯ
l
l ลำดับที่ ๒ นิบาตต้นข้อความ
l
นิบาตต้นข้อความ คือ
นิบาตที่วางไว้เพื่อบอกข้อความต่างๆ ในประโยค เช่น บอกเงื่อนไข บอกปฏิเสธ
บอกความยอมรับ เป็นต้น เช่น กิร ได้ยินว่า, เจ, สเจ, ยทิ
หากว่า, ผิว่า, ถ้าว่า, หนฺท เชิญเถิด, อโห โอ เป็นต้น
ในประโยคใดมีนิบาตต้นข้อความศัพท์ใดศัพท์หนึ่งอยู่ด้วยให้แปลหลังบทอาลปนะ
แต่ถ้าในประโยคใดไม่มีบทอาลปนะให้แปลนิบาตต้นข้อความก่อนได้ ตัวอย่าง เช่น
l
- สเจ เม อกฺขีนิ ปากติกานิ
กาตุ สกฺขิสฺสสิ ฯ
l
ถ้าว่า อ.ท่าน จักอาจ
เพื่ออันกระทำ ซึ่งนัยน์ตา ของฉัน ให้เป็นปกติไซร้ ฯ
l
- อโห มหาคุโณ อายสฺมา
อานนฺโท ฯ
l
โอหนอ อ.พระอานนท์ ผู้มีอายุ
ผู้มีคุณมาก ฯ
l
- หนฺท อิมํ กหาปณํ คเหตฺวา
เทหิ ฯ
l
เชิญเถิด อ.ท่าน ถือเอาแล้ว
ซึ่งกหาปณะนี้ จงให้เถิด ฯ
l ลำดับที่ ๓ บทกาลสัตตมี
l
บทกาลสัตตมี คือ บทที่บอกกาลเวลา
มีทั้งที่เป็นบทนาม บทสัพพนาม และบทนิบาต เช่น สมเย, สมยํ ในสมัย, ทิวเส,
ทิวสํ ในวัน, อชฺช วันนี้, อิทานิ ในกาลนี้, ปาโต แต่เช้า,
หิยฺโย วันวาน, เสว พรุ่งนี้, อถ ครั้งนั้น เป็นต้น
ในประโยคใดมีบทหรือศัพท์ที่เป็นสัตตมีวิภัตติที่บอกกาลเวลาอยู่ด้วย
ให้แปลก่อนบทประธาน หรืออาจจะแปลเป็นลำดับสุดท้ายของประโยคก็ได้ เช่น
l
- ตสฺมึ สมเย สตฺถา ปริสมชฺเฌ ธมฺมํ
เทเสสิ ฯ
l
ในสมัยนั้น อ.พระศาสดา ทรงแสดงแล้ว
ซึ่งธรรม ในท่ามกลางแห่งบริษัท ฯ
l
- ภนฺเต เสว อมฺหากํ ภิกฺขํ
คณฺหถ ฯ
l
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้
อ.ท่าน ท. จงรับ ซึ่งภิกษา ของข้าพเจ้า ท. เถิด ฯ
l
- อถ สพฺเพ ปพฺพชฺชํ ยาจึสุ
ฯ
l
ครั้งนั้น อ.ชน ท. ทั้งปวง
ทูลขอแล้ว ซึ่งการบวช ฯ
l
- ตทา สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย
วสนฺติ ฯ
l
ในกาลนั้น อ. โกฏิแห่งมนุษย์ ท. ๗
ย่อมอยู่ ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ
l
- อชฺช ภนฺเต โอกาโส นตฺถิ
ฯ
l
ข้าแต่ท่านผู้เจริย ในวันนี้
อ.โอกาส ย่อมไม่มี ฯ
l ลำดับที่ ๔ บทประธาน
l
บทประธาน
คือบทที่เป็นเจ้าของกิริยาในประโยค ประกอบรูปศัพท์มาจากปฐมาวิภัตติ สิ, โย วิภัตติ
ออกสำเนียงอายตนิบาตว่า “อันว่า” มี ๒ ประเภท คือ
l
๑) บทประธานทั่วไป เช่น ปุริโส
บุรุษ, กญฺญา นางสาวน้อย, กุลํ ตระกูล เป็นต้น
l
๒) บทประธานพิเศษ เช่น เอวํ
อ.อย่างนั้น, ตถา อ.เหมือนอย่างนั้น, อลํ อ.พอละ เป็นต้น
l
บทประธานนิยมแปลถัดจากบทอาลปนะ นิบาตต้นข้อความ
บทกาลสัตตมี (ยกเว้นในประโยคนั้นไม่มีบทเหล่านี้อยู่ด้วย ให้แปลบทประธานได้ทันที)
เช่น
l
- อมฺม อหํ เภสชฺชํ น
ชานามิ ฯ
l
ข้าแต่แม่ อ. เรา ย่อมไม่รู้
ซึ่งเภสัช (ยา) ฯ
l
- ตุมฺเห ปน สามิ ฯ
l
ข้าแต่นาย ก็ อ.ท่าน ท. เล่า ฯ
l
- อาจริย มยฺหํ โทโส นตฺถิ
ฯ
l
ข้าแต่อาจารย์ อ.โทษ ของผม
ย่อมไม่มี ฯ
l
- เอวํ กิร ภิกฺขเว ฯ
l
ดูก่อนภิกษุ ท. ได้ยินว่า อ.
อย่างนั้น หรือ ฯ
l ลำดับที ๕ บทขยายประธาน
l
บทขยายประธาน
คือบทที่ทำหน้าที่ขยายประธานของประโยค บางทีเรียกว่า บทวิเสสนะ หรือบทคุณนาม
ในบางประโยคอาจมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ปณฺฑิโต ภิกฺขุ อ.ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต,
ปญฺจสตา ภิกฺขู อ.ภิกษุ ท. มีร้อยห้าเป็นประมาณ, โส ทารโก
อ.เด็กคนนั้น เป็นต้น
l
บทขยายประธานโดยทั่วไปต้องมีลิงค์
(เพศ) วจนะ และวิภัตติเสมอกับบทประธานเสมอ ในประโยคใด
มีบทขยายประธานให้แปลหลังแปลบทประธานแล้ว เช่น
l
- อญฺญตโร ภิกฺขุ ปิณฺฑาย
คามํ ปาวิสิ ฯ
l
อ. ภิกษุ รูปใดรูปหนึ่ง เข้าไปแล้ว
สู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต ฯ
l
บทขยายประธานอีกประเภทหนึ่ง
ที่มิใช่ปฐมาวิภัตติ แต่มีลักษณะที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับบทประธาน
ส่วนมากประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ สัตตมีวิภัตติ เช่น
l
- อิมสฺส ปุริสสฺส ปุตฺโต
ปพฺพชิโต ฯ
l
อ.บุตร ของบุรุษนี้ บวชแล้ว ฯ
l
- มยา สตฺถริ อาฆาโต กโต ฯ
l
อ. ความอาฆาต ในพระศาสดา อันเรา
กระทำแล้ว ฯ
l ลำดับที่ ๖ บทกิริยาในระหว่าง
l
บทกิริยาในระหว่าง คือ
บทกิริยาที่อยู่ในระหว่างประโยคต่างๆ โดยส่วนมากประกอบมาจากปัจจัยในกิริยากิตก์ มี
๒ ประเภทคือ กิริยาที่แจกได้ เช่น ต อนฺต มาน ตวนฺตุ ตาวี และแจกไม่ได้
เช่น ตูน ตฺวา ตฺวาน
l
ถ้าเป็นกิริยาที่แจกได้ก็ต้องแจกด้วยวิภัตติให้เสมอกับบทที่มันขยาย
ถ้าเป็นกิริยาที่แจกไม่ได้ก็ไม่ต้องแจกวิภัตติแปลได้ทันที
ให้แปลไปตามลำดับก่อน-หลังในประโยคนั้นๆ เช่น
l
- โส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อตฺตนา
สหคามิโน ภิกฺขู ปริเยสนฺโต สฏฺฐี ภิกฺขู ลภิตฺวา เตหิ ลทฺธึ นิกฺขมิตฺวา...
ฯ
l
อ. (พระเถระ) นั้น ถวายบังคมแล้ว
ซึ่งพระศาสดา แสวงหาอยู่ ซึ่งภิกษุ ท. ผู้มีปกติเที่ยวไปกับ ด้วยตน ได้แล้ว
ซึ่งภิกษุ ท. ๖๐ ออกไปแล้ว กับด้วยภิกษุ ท. เหล่านั้น ฯ
l
- สาปิ (จุลฺลสุภทฺทา) ตเถว กโรนฺตี
โสตาปนฺนา หุตฺวา ปติกุลํ คตา ฯ
l
(อ.นางจุลลสุภัททา) นั้น กระทำอยู่
อย่างนั้น นั่นเทียว เป็นโสดาบัน เป็น ไปแล้ว สู่ตระกูลแห่งผัว ฯ
l ลำดับที่ ๗ บทขยายกิริยาในระหว่าง
l
บทขยายกิริยาในระหว่าง คือ
บรรดาบทนามบทใดบทหนึ่งที่อยู่หน้ากิริยาในระหว่าง ส่วนมากประกอบด้วยวิภัตตินามทั้ง
๗ วิภัตติ ทำหน้าที่ขยายความของกิริยาในระหว่างให้ชัดเจนขึ้น
ให้แปลหลังจากแปลกิริยาในระหว่างแล้ว เช่น
l
- โส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา
อตฺตนา สหคามิโน ภิกฺขู ปริเยสนฺโต สฏฺฐี ภิกฺขู ลภิตฺวา เตหิ
ลทฺธึ นิกฺขมิตฺวา... ฯ
l
อ. (พระเถระ) นั้น ถวายบังคมแล้ว
ซึ่งพระศาสดา แสวงหาอยู่ ซึ่งภิกษุ ท. ผู้มีปกติเที่ยวไปกับ ด้วยตน ได้แล้ว
ซึ่งภิกษุ ท. ๖๐ ออกไปแล้ว กับด้วยภิกษุ ท. เหล่านั้น ฯ
l ลำดับที่ ๘ ประโยคแทรก
l
ประโยคแทรก คือ
ประโยคที่แทรกเข้ามาระหว่างประโยคหลัก เนื้อความแตกต่างไปจากประโยคหลัก
มีประธานและกิริยาเฉพาะตน มี ๒ ประเภท คือ
l
๑) ประโยคอนาทร คือ
ประโยคที่แทรกเข้ามาในระหว่างประโยคหลัก หรือประโยคท้องเรื่อง
ประกอบรูปมาจากฉัฏฐีวิภัตติ ทั้งบทนามและบทกิริยา ออกสำเนียงการแปลว่า “เมื่อ” ประโยคอนาทรนี้ แทรกเข้ามาตอนไหนให้แปลในตอนนั้นได้ทันที เช่น
l
- เสฏฺฐิสฺส อิทญฺจิทญฺจ กโรนฺตสฺเสว
ทารโก วุฑฺฒิโต ฯ
l
เมื่อเศรษฐีกระทำอยู่ (ซึ่งกรรม)
นี้ด้วย นี้ด้วย นั่นเทียว อ.เด็ก เจริญแล้ว ฯ
l
๒) ประโยคลักขณะ คือ
ประโยคที่แทรกเข้ามาในระหว่างประโยคหลัก หรือประโยคท้องเรื่อง
ประกอบรูปมาจากสัตตมีวิภัตติ ทั้งบทนามและบทกิริยา ออกสำเนียงการแปลว่า “ครั้นเมื่อ” ประโยคลักขณะนี้ แทรกเข้ามาตอนไหนให้แปลในตอนนั้นได้ทันที เช่น
l
- ทุติยมฺปิ คพฺเภ ปติฏฺฐิเต
ตสฺสา อาโรเจสิ ฯ
l
แม้ในวาระที่ ๒
ครั้นเมื่อสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ตั้งขึ้นแล้ว (สา
อิตฺถี อ. หญิงนั้น) บอกแล้ว แก่ (หญิง) นั้น ฯ
l ลำดับที่ ๙ บทขยายประโยคแทรก
l
บทขยายประโยคแทรก คือ
บทที่เนื่องด้วยประโยคแทรก
ทำหน้าที่ขยายความของประโยคแทรกที่กล่าวมาแล้วให้มีความหมายกว้างขวางยิ่งขึ้นไป อีก
ในประโยคแทรกใดๆ มีบทขยายประโยคแทรกอยู่ด้วยให้แปลถัดจากแปลประโยคแทรกได้ทันที
เช่น
l
- เถรสฺส สามเณเรหิ สทฺธึ
อารามํ อาคจฺฉนฺตสฺส, อชฺช สตฺตโม ทิวโส ฯ
l
เมื่อพระเถระ มาอยู่ สู่อาราม
กับด้วยสามเณร ท. อ.วันนี้ เป็นวันที่ ๗ ฯ
l
- มยิ เอเตหิ (ภิกฺขูหิ) สทฺธึ
คจฺฉนฺเต
l
ครั้นเมื่อเรา ไปอยู่ กับด้วยภิกษุ
ท. เหล่านั้น
l ลำดับที่ ๑๐ บทกิริยาคุมพากย์
l
บทกิริยาคุมพากย์ คือ
กิริยาหลักของประโยคซึ่งจะขาดเสียมิได้ ประโยคใดๆ
หากไม่มีกิริยาคุมพากย์ตามหลักไวยากรณ์บาลี ไม่จัดเป็นประโยค
เป็นเพียงแต่พากยางค์หรือกลุ่มคำเท่านั้น บทกิริยาคุมพากย์สร้างมาจาก ธาตุ ปัจจัย
และวิภัตติในอาขยาตเป็นหลัก หรือไม่ก็สร้างมาจาก ธาตุ ปัจจัยในกิริยากิตก์บางตัว
และวิภัตตินาม เป็นกิริยาที่สุดของประโยค
หรือกิริยาที่บอกการกระทำเป็นครั้งสุดท้ายของบทประธานในประโยคนั้น เช่น
l
- สตฺถา ปริโภคมกาสิ (ปริโภคํ อกาสิ)
ฯ ฃ
l
อ.พระศาสดา ได้ทรงกระทำแล้ว
ซึ่งการเสวย ฯ
l
- สูโท โอทนํ ปจติ ฯ
l
อ.พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก ฯ
l
- ภิกฺขุ คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺโฐ
ฯ
l
อ. ภิกษุ เข้าไปแล้ว สู่บ้าน
เพื่อบิณฑะ ฯ
l ลำดับที่ ๑๑ บทขยายกิริยาคุมพากย์
l
บทขยายกิริยาคุมพากย์ คือ
บทที่เรียงอยู่หน้ากิริยาคุมพากย์บ้าง เรียงไว้หลังกิริยาคุมพากย์บ้าง
มีความสัมพันธ์กับบทกิริยาคุมพากย์
ในฐานะเป็นบทขยายกิริยาอาการของกิริยาคุมพากย์ให้ชัดเจนกว้างขวางออกไป
ต้องแปลเข้ากับกิริยาคุมพากย์เท่านั้น
หลักการแปลเหมือนกับหลักการแปลบทขยายกิริยาในระหว่างที่กล่าวแล้ว เช่น
l
- เถโร สตฺถารํ วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ
นิสีทิ ฯ
l
อ.พระเถระ ถวายบังคมแล้ว
ซึ่งพระศาสดา นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
l
- สตฺถา ภตฺตคฺคํ ปวิสิตฺวา ปญฺญตฺตาสเน
นิสีทิ ฯ
l
อ. พระศาสดา เสด็จเข้าไปแล้ว
สู่โรงเป็นที่ฉัน ประทับนั่งแล้ว บนอาสนะอันบุคคลปูลาดแล้ว ฯ
แบบฝึกหัดที่ ๑
๑.
การแปลบาลีเป็นไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
๒.
การแปลโดยยกศัพท์คือการแปลอย่างไร ยกตัวอย่างมาดู ?
๓.
การแปลโดยพยัญชนะกับการแปลโดยยกศัพท์เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย ?
๔.
ลำดับการแปลบาลีเป็นไทยมีกี่ลำดับ อะไรบ้าง บอกมาให้ครบ ?
๕. บทอาลปนะนาม
มาคู่กันกับบทอาลปนะนิบาต มีหลักการแปลอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบด้วย ?
๖. บทกาลสัตตมี
มีหลักการแปลอย่างไร จงอธิบาย ?
๗.
บทประธานมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ประกอบวิภัตติอะไร มีสำเนียงแปลโดยพยัญชนะว่าอย่างไร
?
๘.
บทขยายประธานคือบทเช่นไร ?
๙.
บทกิริยาในระหว่าง มาจาก ปัจจัยอะไรบ้าง ?
๑๐.
บทขยายกิริยาในระหว่างคือบทอะไร อธิบายพอเข้าใจ ?
l แบบฝึกหัดที่ ๒
l จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นไทย
l ๑. กุหึ ยาสิ อุปาสก
ฯ
l ๒. อมฺโภ กุมารา เอส
สาลิกโปตโก คณฺหถ นํ ฯ
l ๓. สเจ
เม อกฺขีนิ ปากติกานิ กาตุ สกฺขิสฺสสิ ฯ
l ๔. ตทา สาวตฺถิยํ
สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ
l ๕. อาจริย
มยฺหํ โทโส นตฺถิ ฯ
l ๖. อญฺญตโร ภิกฺขุ
ปิณฺฑาย คามํ ปาวิสิ ฯ
l ๗. มยา สตฺถริ
อาฆาโต กโต ฯ
l ๘. สาปิ
(จุลฺลสุภทฺทา) ตเถว กโรนฺตี โสตาปนฺนา หุตฺวา ปติกุลํ คตา ฯ
l ๙. โส สตฺถารํ
วนฺทิตฺวา อตฺตนา สหคามิโน ภิกฺขู ปริเยสนฺโต สฏฺฐี ภิกฺขู ลภิตฺวา เตหิ ลทฺธึ
l นิกฺขมิตฺวา... ฯ
l ๑๐. เสฏฺฐิสฺส
อิทญฺจิทญฺจ กโรนฺตสฺเสว ทารโก วุฑฺฒิโต ฯ
l ๑๑. ทุติยมฺปิ คพฺเภ
ปติฏฺฐิเต ตสฺสา อาโรเจสิ ฯ
l ๑๒. เถรสฺส
สามเณเรหิ สทฺธึ อารามํ อาคจฺฉนฺตสฺส, อชฺช สตฺตโม ทิวโส ฯ
l ๑๓. เถโร สตฺถารํ
วนฺทิตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ ฯ
แบบฝึกหัดที่ ๓
จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นบาลี
ตอนที่ ๒
l
๑. ซึ่งบาตรทั้งหลาย
l
๒.
ซึ่งจีวรทั้งหลาย
l
๓.
สู่บ้าน
l
๔.
โดยภิกษุ
l
๕.
แก่สามเณร
l
๖.
ของพระเถระ
l
๗.
บาตรของพระอุปัชฌาย์
l
๘. สบงของสามเณร
l
๙. บนเตียง
l
๑๐. ในวิหาร
l
๑๑. ใกล้มหาวิทยาลัย
l
๑๒. จากชนบท
l
๑๓. แต่ที่ไกล
ตอนที่ ๒
l
๑. สามเณร เข้าไปสู่บ้าน
เพื่อบิณฑบาต/เพื่อก้อนข้าว ฯ
l
๒. นิสิตทั้งหลาย กำลังเรียนภาษาบาลี
ฯ
l
๓.
อาจารย์ให้นิสิตเรียนพระพุทธพจน์
l
๔. อุบาสก ถวาย บิณฑบาตแก่สามเณร
ฯ
l
๕. พระอุปัชฌาย์
ให้อุปสมบทแก่สัทธิวิหาริก ฯ
l
๖. บิดา ทำงานอยู่ในนา ฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)